Custom Search

เทคนิคการหลอกเครื่องจับเท็จ 2 (ตอนจบ)

เทคนิคการหลอกเครื่องจับเท็จ

มาต่อกันกับคราวที่แล้วของเครื่องจับเท็จ

เครื่องจับเท็จประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้วัดชีพจร (เครื่องบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ) ความดันโลหิต (เครื่องบันทึกการเต้นชีพจรหลอดเลือดแดง) การเปลี่ยนแปลงกระแสไฟฟ้าที่ชั้นผิวหนังหรือดูว่ามีเหงื่อออกมามากกว่าปกติหรือไม่(เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า) และการหายใจ(เครื่องบันทึกระบบหายใจ) อย่างไรก็ตามการทำงานของเครื่องจับเท็จนี้ก็ไม่เหมือนกับที่เราเห็นในภาพยนตร์ คือไม่ใช่ว่าคุณโกหกจะทำให้ปากกาลากเส้นกราฟชีวิตขีดเส้นเร็วขึ้น (ใครยังไม่เคยดูก็ไปหามาดูซะนะครับ)

แต่เครื่องจับเท็จนี้จะอ่านค่าได้จากการเปรียบเทียบการตอบสนองทางร่างกายทั้ง 4 ประการที่กล่าวมา ระหว่างที่ผู้ถูกทดสอบถูกถามด้วย คำถามควบคุม เพื่อใช้เป็นแนวทางว่าผู้ถูกทดสอบพูดความจริงหรือไม่

ดังนั้น ถ้าหากคุณสามารถแสดงความผิดปกติหรือทำการตอบสนองให้มากเกินจริงระหว่าที่ตอบ คำถามควบคุม ผลที่ออกมาจะไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เพราะการอ่านค่าพื้นฐานยังไม่ชัดเจน แต่คุณจะต้องจำเอาไว้ว่าอย่าพยามยามปกปิดความรู้สึกของคุณด้วยการเงียบผิดปกติ ควรทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามจะดีกว่า และเมื่อคุณถูกถามด้วยคำถามควบคุม เช่น ตอนนี้ไฟเปิดอยู่ใช่ไหม คุณควรจะเพิ่มการตอบสนองด้วยการเกร็งกล้ามเนื้อหรือนั่งตัวเกร็ง คิดเลขในใจคิดถึงสิ่งที่ชวนให้เป็นกังวล หรือแม้แต่กัดลิ้นตัวเองเบา ๆ

โดยปกติแล้วการทดสอบด้วยเครื่องจับเท็จนั้นจะใช้เวลาประมาณ 2 -3 ชั่วโมง ในส่วนที่ใช้เวลานานที่สุดก็คือ การสัมภาษณ์เพื่อประเมินหรือเพื่อเป็นฐานสำหรับการทดสอบ ซึ่งอาจจะกินเวลาถึง 90 นาที โดยจะมีการชี้แจงเกี่ยวกับการทดสอบและสิทธิทางกฏหมายให้คุณทราบ รวมทั้งมีการพูดคุยกันเกี่ยวกับ ประเด็น ที่ต้องการจะสืบสวนสอบสวนด้วย

คนที่มีความผิดหลายคนมักจะตกม้าตายด้วยการเปิดเผยความจริงในขั้นตอนนี้มากกว่าตอนที่พวกเขาถูกตรวจสอบโดยเครื่องจับเท็จเสียด้วยซ้ำ เพราะผู้ทดสอบได้รับการฝึกอบรมมาให้สามารถเกลี้ยกล่อมและหว่านล้อมความคิดและความรู้สึกของคุณได้ ส่วนเครื่องจับเท็จนั้นเป็นแค่เพียง เครื่องมือที่สำคัญของพวกเขา ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อทำให้คุณมีความรู้สกอ่อนไหวและถูกจับเท็จได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ความจริงแล้วผู้ที่คุณควรจะเอาชนะก็คือผู้ทดสอบไม่ใช่เครื่องทดสอบ

กระบวนการทำงานของเครื่องจับเท็จได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการดึงความรู้สึกผิดของคนออกมาหือที่เรียกกันว่า การเปิดเผยความจริง การดึงความรู้สกผิดของคนออกมาได้จะทำให้คุณเชื่อในความแม่นยำของการทดสอบด้วยเครื่องจับเท็จ และถ้าหากคุณเชื่อไปแล้วว่าเครื่องจับเท็จเป็นเครื่องมือที่พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้ คุณก็ถูกหลอกโดยโฆษณาชวนเชื่อโดยสื่อและภาพยนตร์แล้วล่ะครับ

รู้หรือไม่

คุณคิดว่าเครื่องจับเท็จสามรถตรวจจับอาการตื่นตระหนกที่แกล้งทำขึ้นได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ...

มันไม่สามารถตรวจจับได้

เป็นไงกันบ้างครับกับเทคนิคนี้ถ้าใครเอาไปใช้ก็แสดงว่าคนนั้นทำความผิดนะครับ ฮิ ฮิ



http://dailygizmo.files.wordpress.com/2007/12/lie_detector_3.jpg

0 ความคิดเห็น: