Custom Search

ตะลึง “งูเปลี่ยนสี” ชนิดแรกของโลกบนเกาะบอร์เนียว

เอ เจนซี/บีบีซีนิวส์ – นักชีววิทยาสำรวจป่าบอร์เนียวพบงูหน้าตาประหลาด หวังเก็บมาศึกษา
ต่เมื่อนำใส่ตะกร้ากำลังพบว่ามันสามารถเปลี่ยนสีได้ เหมือน “กิ้งก่า” นับเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ
ถือเป็นการค้นพบ "งูเปลี่ยนสี” เป็นครั้งแรก

E. gyii งูน้ำมีพิษที่นักชีววิทยายังไม่เคยเห็นมาก่อนบนเกาะบอร์เนียว ซึ่งงูนี้มีความพิเศษตรงที่สามารถเปลี่ยนสีตัวเองได้เหมือนกิ้งก่า

องค์การ กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) เปิดเผยว่า นักชีววิทยาชาวเยอรมันและอเมริกันค้นพบงูพิษชนิดหนึ่งที่ไม่เคยมีการบันทึก มาก่อน งูชนิดนี้มีพฤติกรรมเหมือนกับกิ้งก่า เปลี่ยนสีได้ ซึ่งพวกเขาค้นพบการเปลี่ยนสีของงูโดยบังเอิญเมื่อนำสัตว์แปลกหน้าตัวนี้ใส่ ลงตะกร้า
มาร์ก เอาลีจา (Mark Auliya) นักสัตววิทยาจากพิพิธภัณฑ์และการวิจัยอเล็กซานเดอร์ เคอนิก (Forschungsmuseum Alexander Koenig) ในบอนน์ เยอรมนี กับจอห์น เมอร์ฟีย์ (John Murphy) และฮารอลด์ วอริส (Harold Voris) จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Field Museum of Natural History) ในชิคาโก สหรัฐฯ ได้ร่วมกันค้นพบงูประหลาดที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนบนเกาะบอร์เนียว
ดร.เอาลี จาอธิบายว่า งูพิษเปลี่ยนสีได้มีลำตัวยาวประมาณครึ่งเมตร พวกเขาพบที่บริเวณแม่น้ำคาปูอัส (Kapuas river) ในเขตอุทยานแห่งชาติเบตุง เคริฮุน (Betung Kerihun National Park) ของอินโดนีเซียที่อยู่บนเกาะบอร์เนียวอันเป็นดินแดนเชื่อมต่อระหว่าง อินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งเมื่อนำงูตัวประหลาดตัวนี้ใส่ลงในตะกร้าสีดำ เพื่อนำกลับมาศึกษา ผิวหนังของงูที่เป็นสีน้ำตาลแดงกลับเปลี่ยนเป็นสีขาวเกือบทั้งตัว ในเวลาไม่กี่นาที
งูตัวนี้อยู่ในตระกูลเอ็นไฮดริส (Enhydris) หรือพวกงูน้ำ ซึ่งทีมผู้ค้นพบได้ตั้งชื่องูชนิดนี้ว่างูคาปูอัส มัด (Kapuas Mud Snake) ตามแหล่งที่ค้นพบ ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์คือ “กีอี” (E. gyii) และเชื่อว่าสามารถค้นพบได้ในแถบแม่น้ำนี้แห่งเดียว
อย่างไรก็ดี แม้ว่างูคาปูอัสมัดจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนสีคล้ายกับกิ้งก่า แต่งูชนิดนี้ไม่ได้เปลี่ยนสีเพื่อพรางตัวแต่อย่างใด อีกทั้งการที่งูสามารถเปลี่ยนสีได้จึงนับว่าเป็นงูประเภทที่หายาก
ที่ สำคัญในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการเข้าสำรวจป่าบนเกาะบอร์เนียวและค้นพบสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ชนิด ใหม่มากกว่า 350 รายการ ขณะเดียวกันนักอนุรักษ์ก็เตือนว่าป่าบอร์เนียวกำลังถูกรุกรานมากขึ้นเรื่อยๆ โดยพื้นที่ป่าลดลงจากในช่วงกลางปี 1980 เหลือ 75% ขณะนี้เหลือส่วนที่เป็นป่าสมบูรณ์เพียงแค่ 50%


ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ 27 มิถุนายน 2549 19:28 น. http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000083248

0 ความคิดเห็น: